ตอบ   เมื่อคุณมีอาการบางอย่างเช่น เครียด ปวดหัว นอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่สนิท หงุดหงิดง่าย ไม่อยากเรียน ไม่อยากทำงาน วิตกกังวลมาก เบื่อหน่าย ท้อแท้ กินไม่ได้ ร้องไห้ง่าย อยากตาย เกิดอาการใจสั่น หายใจไม่ทัน กลัวตายขึ้นมาเฉยๆทั้งๆที่ไม่มีอะไรน่ากลัวเกิดขึ้น กลัวความสูง ย้ำคิดย้ำทำ กลัวความสกปรก ล้างมือตั้งหลายเที่ยวก็ยังรู้สึกไม่สะอาดอยู่ดี หรือใช้สารเสพติดที่ผิดกฎหมาย หรือถูกกฎหมายแต่ใช้มากเกินเป็นต้น จนส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันหรือคนรอบข้างและไปหาแพทย์ทั่วไปตรวจไม่พบความผิดปกติหรือบางคนมีปัญหาการเรียน การปรับตัว กับผู้อื่น หรือกลุ้มใจที่หาทางออกไม่ได้ ปัญหาครอบครัว เรื่องคับข้องใจ จึงควรรีบตัดสินใจไปพบจิตแพทย์ ทั้งนี้ไม่ควรปล่อยให้อาการเหล่านี้อยู่กับคุณนาน เพราะจะเป็นปัญหาเรื้อรังต่อสุขภาพกายและจิตใจ และปัญหาอื่นๆ ตามมา

ตอบ  ส่วนใหญ่จิตแพทย์  ตรวจซักถามประวัติการเจ็บป่วยเหมือนแพทย์ทั่วไป  และสอบถามผู้ป่วยว่ามีอาการหรือมีอะไรที่ต้องมาพบจิตแพทย์และเริ่มพูดคุยให้ผู้ป่วยบอกเล่าสิ่งที่ไม่สบายใจ อาจถามถึงประวัติส่วนตัวในอดีตและปัจจุบันเกี่ยวกับครอบครัว หน้าที่การงานหรือเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นและผู้ป่วยรู้สึกกับเรื่องนั้นและทำอย่างไร เพื่อให้เข้าใจว่าทำไมผู้ป่วยมีอาการหรือความรู้สึกแบบนั้น  สำหรับการตรวจสภาพจิตโดยทั่วไป จิตแพทย์จะดูกริยาท่าทาง การแต่งตัว การพูดจา บุคลิกลักษณะต่างๆ เช่น คนที่เป็นโรคซึมเศร้า จะมีท่าทางเฉย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่ค่อยแต่งตัว เป็นต้น และเมื่อจิตแพทย์พูดคุย และรับฟังผู้ป่วย ได้ทราบข้อมูลมากพอก็จะเริ่มให้การรักษา โดยอธิบายว่าผู้ป่วย เป็นโรคอะไร พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำ  หาทางวิธีการแก้ไข หรือให้ยาแก่ผู้ป่วย ตามแผนการรักษาของผู้ป่วยแต่ละคน

ตอบ   พบว่าผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มี พ่อ แม่ พี่น้อง มีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วๆ ไป 2-3 เท่า แต่บางครั้งโรคนี้ก็เป็นขึ้นมาเองได้ เช่นเดียวกับการเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคนี้รักษาได้

ตอบ  โรคซึมเศร้า ไม่ใช่เป็นโรคจิต 
 
         โรคจิต เป็นโรคที่มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน มีอาการเด่นคือแยกไม่ได้ระหว่าง ความจริงกับ สิ่งที่คิด (Out of reality) ภาวะรับรู้สิ่งแวดล้อมผิดปกติ (Hallucination) เช่นได้ยินเสียงที่ไม่มีจริง เห็นภาพที่คนไม่เห็น และมีพฤติกรรมที่ผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด (Disorganized behaviour) เช่น เดินแก้ผ้า ปีนเสาไฟฟ้า อาการเหล่านี้ ถ้าเป็นโรคจิตควรมีทุกข้อ แต่มีบางข้อเช่นข้อ 2 ก็สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคจิต และมักจะเป็นเรื้อรัง 
         สำหรับโรคซึมเศร้านั้น อาการเด่นคืออารมณ์เปลี่ยนไปจากปกติ โดยเฉพาะมีอาการซึมเศร้า นอนไม่หลับ เป็นลักษณะความผิดปกติทางอารมณ์มากกว่า

ตอบ    การรักษาโรคนี้เป็นการรักษาการกำเริบของโรค เมื่อหายแล้วก็อาจเป็นขึ้นมาใหม่ได้เหมือนกัน ประมาณกันว่าร้อยละ 50- 75 ของผู้ป่วยเป็นมากกว่าหนึ่งครั้ง ยิ่งกลับมากำเริบก็ยิ่งมีโอกาสเป็นอีกในครั้งต่อไปมากขึ้น ในผู้ป่วยที่เป็นมากกว่า 2 ครั้งอาจต้องกินยาป้องกันไประยะยาวหลายๆ ปี

ตอบ   ยารักษาโรคซึมเศร้า ชนิดฉีดไม่ค่อยนิยมใช้ เพราะเป็นโรคทางอารมณ์ต้องใช้เวลารักษา การฉีดยาไม่ได้ช่วยให้หายเร็วขึ้น ยาฉีดไม่ได้มีผลดีเหนือกว่ายากิน ถ้าผู้ป่วยไม่ยอมกินยาต้องอธิบายให้เข้าใจการรักษา ถ้าไม่กินยาและอาการหนัก ก็ส่งรักษาในโรงพยาบาล   

ตอบ    ยานี้ไม่มีการสะสมในร่างกาย ตัวยาจะถูกขับออกจากร่างกายทางอุจจาระหรือปัสสาวะ ประมาณ 12-24 ชั่วโมงระดับยาในร่างกายหลังกินจะลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง ส่วนใหญ่แพทย์มักจะสั่งให้กินยาวันละ 1-3 ครั้ง ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดของยา ถูกขับออกจากร่างกายเร็วหรือช้า เพื่อให้ระดับยาในเลือดคงที่ตลอด การรักษาจึงจะได้ผลดี

ตอบ   กลุ่มอาการของโรคจิต ที่มีความผิดปกติของความคิด มีอาการ 2 ประเภท คือ 
1. มีอาการเพิ่มมากกว่าคนปกติทั่วไป เช่นได้ยินเสียงคนพูดคุย พูดโต้ตอบเพียงคนเดียว หรือหลงผิด คิดว่ามีเทพวิญญาณอยู่ในร่างกายคอยบอกให้ทำสิ่งต่างๆ หรือ ความคิดผิดปกติ เช่นพูดไม่เป็นเรื่องเป็นราว พูดไม่ต่อเนื่อง เปลี่ยนเรื่องพูดโดยไม่มีเหตุผล หรือ พฤติกรรมผิดปกติ เช่นอยู่ในท่าแปลกๆ หัวเราะหรือร้องไห้ สลับกันเป็นพักๆ
2. มีอาการที่ขาดไปจากคนปกติทั่วๆไป ได้แก่ สีหน้าอารมณ์เฉยเมย ชีวิตไม่มีจุดหมาย ไม่พูด ไม่มีอาการยินดียินร้าย

ตอบ  เกิดจากความผิดปกติของสมองบางส่วน ในการสร้างสารบางอย่างที่มีปริมาณมากหรือน้อยเกินไป  ทำให้การสารสื่อสารของใยประสาทในสมองผิดปกติ และอาจเกิดจากความเครียดในชีวิตประจำวันเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเจ็บป่วยขึ้น ในปัจจุบันยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง แต่เชื่อว่ากรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมจะมีอิทธิพลต่อการเกิดโรคนี้ 

ตอบ  การรักษาโรคจิตเภท ผู้ป่วยต้องกินยาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่งและใช้เวลาหลายปี ยาช่วยควบคุมอาการทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกลับเข้าสู่สังคมได้

ตอบ   คนที่จะฆ่าตัวตายมักจะให้สัญญาณ เตือนก่อนว่าเขาต้องการความช่วยเหลือ แต่บางคนก็ไม่แสดงสัญญาณเหล่านี้ออกมาเลยที่ เราพอจะสังเกตเห็นได้สัญญาณเตือนเหล่านี้ได้แก่
     • แยกตัวจากเพื่อนฝูง พี่น้องครอบครัว
     • มีอาการซึมเศร้า เช่น ไม่ค่อยสนใจสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว ดูเศร้า สิ้นหวัง หงุดหงิดง่าย การกิน การนอนเปลี่ยนแปลง ไม่มีเรี่ยวแรง ชอบตำหนิตัวเอง มีความคิดหรือจินตนาการเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายบ่อยๆ    ต่อจากนั้นเปลี่ยนจากซึมเศร้าเข้าสู่ความรู้สึกสงบอย่างรวดเร็ว
     • พูด เขียน เอ่ยถึงการตาย
     • เคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว
     • ความรู้สึกหมดหวัง สิ้นหวัง
     • บริจาคของของตนให้ผู้อื่น
     • สนใจที่จะทำพินัยกรรม หรือประกันชีวิต
       ทั้งหมดนี้ไม่แน่ว่าจะเกิดการฆ่าตัวตายแน่นอน แต่จะบอกว่าคนที่มีสัญญาณเตือนเหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือ

ตอบ   ถ้าคนที่คุณรู้จักรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย ให้ไปหาความช่วยเหลือจากคนที่จะรับฟังคุณได้ คนที่คิดฆ่าตัวตายต้องการความรัก ความเข้าใจ ความเอาใจใส่การที่ได้ถาม จะทำให้พวกเขารู้สึกว่ามีคนรับฟังและพร้อมที่จะเข้าใจ และถ้ามีใครมาบอกคุณว่าเขาอยากฆ่าตัวตาย จงฟังเขา ฟังให้ได้ว่าเขารู้สึกอย่างไร และพยายามพูดโน้มน้าวให้เขาไม่ทำร้ายตัวเอง เมื่อไรที่มีความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายขึ้นมาต้องสัญญาว่าจะไม่ทำ จนกว่าจะติดต่อกับคุณหรือคนที่จะให้ความช่วยเหลือได้และรีบส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญต่อไป แต่ถ้าคนที่คุณช่วยเป็นคนที่ไม่ค่อยพูด ถ้าคิดจะทำก็ทำเลย คุณก็ควรต้องพาเขาไปโรงพยาบาลทันที

ตอบ  ปัจจุบันไม่มียาที่ใช้รักษาโรคติดยาเสพติด โดยตรง  ส่วนใหญ่จิตแพทย์ หรือแพทย์ทั่วไป จะการรักษาตามชนิดของยาเสพติด และอาการต่างๆด้วยยา เช่น รักษายาบ้า มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย นอนไม่หลับ ให้ยาแก้ปวด วิตามินบำรุงและยาช่วยทำให้หลับ เป็นต้น และหากมีภาวะทางจิตเวช เช่น หูแว่วภาพหลอน ซึมเศร้า ให้ยาทางจิตเวชรักษาตามอาการ

ตอบ  สี่คูณร้อย คือ สูตรที่ผสมเป็นหลักได้แก่ น้ำใบกระท่อม โค้ก ยาแก้ไอหรือยากล่อมประสาท บางพื้นที่เรียก “โอทอป” หรือน้ำกระท่อมต้ม
         เหตุที่เรียกกันว่า 4x100 เนื่องจากมีการนำมาผสมในสูตรต่างๆดังนี้
สูตรที่1 น้ำต้ม ใบกระท่อม โค้ก ยาแก้ไอ ยากันยุง
สูตรที่2 น้ำต้ม ใบกระท่อม โค้ก ยาแก้ไอ กาแฟ 
สูตรที่3 น้ำต้ม ใบกระท่อม โค้ก ยาแก้ไอ นมเปรี้ยว

          ทั้งหมดนี้ทำให้ “สี่คูณร้อย” ออกฤทธิ์แบบผสมผสาน ทำให้เกิดอาการมึนเมา สนุก กล้าแสดงออก ลืมตัว หงุดหงิดง่าย คึก บ้าบิ่น บางรายง่วงซึม ลอยๆ ไม่ค่อยรู้ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่ปรุง

ตอบ  ส่วนใหญ่ยาบ้ามีส่วนประกอบของเมทแอมเฟตามีน ไฮโดรคลอไรด์ ประมาณร้อยละ 20-30 คาเฟอีนร้อยละ 40-60 ที่เหลือเป็นแป้งและน้ำตาล ยาบ้าบางชนิดอาจมีสารคาเฟอีนและอีฟีดีนผสมอยู่ เป็นสารกระตุ้นประสาทจำพวกหนึ่ง แต่ออกฤทธิ์ไม่รุนแรงเท่าเมทแอมเฟตามีน ซึ่งถ้าชนิดใดมีเฉพาะสารคาเฟอีน หรืออีฟีดีโดยไม่มีสารเมทแอมเฟตามีนเรียก "ยาบ้าปลอม"

ตอบ  เป็นยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน แตกต่างกันที่โครงสร้างทางเคมี ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญคือ 3,4 - MethyleneDioxyMethAmphetamine : MDMA
        ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในระยะสั้น จากนั้นออกฤทธิ์หลอนประสาท
        มักมีอาการเหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ระบบประสาทการรับรู้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดทำให้การได้ยินเสียงและการมองเห็นแสงสีต่าง ๆ ผิดไปจากความเป็นจริง เคลิบเคลิ้ม ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ มีอาการติดยาทางจิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย