โรคแพนิค (Panic disorder)


สาเหตุ

         โ
รคนี้มักเกิดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและสามารถเกิดร่วมกับโรคอื่นได้ เช่น โรคซึมเศร้า สาเหตุของโรคนี้เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (automatic nervous system) ทำงานผิดปกติไป เนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายส่วน อาการที่เกิดขึ้นจึงเกิดหลายอย่างพร้อมกันทั้งการเต้นของหัวใจ การหายใจ การออกของเหงื่อ ฯลฯ การทำงานของระบบดังกล่าวต้องอาศัยสารเคมีในสมองเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการทำงาน


อาการ

1. มี panic attack ได้แก่ แน่นหน้าอก ใจสั่น กลัว หายใจไม่ออก เวียนศีรษะ จุกแน่นท้อง มือเท้าเย็นชา รู้สึกเหมือนจะควบคุมตัวเองไม่ได้ เหมือนตัวเองกำลังจะตายหรือจะเป็นบ้า จะเริ่มเป็นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยถึงจุดสูงสุดภายใน 10 นาที แล้วความรุนแรงจะค่อยๆ ลดลงจนหายไปใน 60 นาที

2. เกิดอาการบ่อยๆหรือเป็นเพียง 1 ครั้ง ก็ทำให้ผู้ป่วยมีความกลัวว่าจะเป็นซ้ำ

3. ไม่สามารถคาดล่วงหน้าว่าจะเกิดอาการขึ้นเมื่อใด

4. อาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากยา สารต่างๆ โรค หรือสาเหตุทางกายอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการ ได้

     อาการ panic นั้นคล้ายอาการของโรคหัวใจ โรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร หรือโรคของระบบประสาทการทรงตัวอย่างมาก เนื่องจากพบว่ามีการเชื่อมโยงระหว่างศูนย์ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติกับระบบอวัยวะดังกล่าว


การดำเนินโรค 

ระยะที่ 1 : limited symptoms attacks อาการยังเป็นไม่มาก ไม่ครบเกณฑ์ของ panic disorder

ระยะที่ 2 : panic disorder มีอาการต่างๆเข้าเกณฑ์การวินิจฉัย

ระยะที่ 3 : hypochondriasis เชื่อว่าตนมีโรคร้ายแรงบางอย่างแต่แพทย์ตรวจไม่พบ เช่นโรคปอด โรคหัวใจ
                หรืออัมพาต ทำให้ไม่ทำงานตามปกติ และมักเวียนไปให้แพทย์ตรวจยืนยัน

ระยะที่ 4 : limited phobic avoidance เริ่มกลัวและหลีกเลี่ยงต่อสถานที่หรือ สถานการณ์ซึ่งผู้ป่วยรู้สึกว่า
                อาจทำให้เกิด panicได้ เช่น  agoraphobia คือไม่กล้าไปไหนคนเดียวอาจทำให้ผู้ป่วยไม่อาจ
               ไปทำงานหรือดำเนินชีวิตประจำวันได้

ระยะที่ 5 : extensive phobic avoidance มีความกลัวและหลีกเลี่ยงมากขึ้น

ระยะที่ 6 : secondary depression เป็นเพียงอารมณ์หรือระดับเป็น major depression อันเป็นผลจากการ
                เป็น panic disorder มานานแต่ผู้ป่วยไม่ทราบสาเหตุ ไม่หาย ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ทั้งที่ร่าง
                กายแข็งแรง ผิดหวังและละอายกับตนเองและครอบครัว บางรายอาจ หันไปใช้ยาเสพติดหรือดื่ม
                สุราหรือบางรายพยายามฆ่าตัวตาย


การรักษา
   
       
 1. การรักษาใช้ยากลุ่ม benzodiazepine และยาต้านอารมณ์เศร้า สามารถรักษาได้ผลดี 

         2.การรักษาทางด้านจิตใจ ความเข้าใจและยอมรับในอาการของผู้ป่วยว่ารุนแรง  ถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการรักษา แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่า อาการที่เป็นจะไม่มีอันตรายถึงชีวิต โรคนี้รักษาหายได้

          สอนการปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการเพื่อให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองได้บ้าง เช่น การหายใจเข้าออกลึกๆช้าๆ การหายใจในถุงกระดาษหากมี hyperventilation เป็นอาการเด่น หรือการกินยาที่แพทย์ให้พกติดตัวไว้

           โรคแพนิคเป็นโรคที่น่ากลัวสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้
ถ้าดูแลรักษาถูกต้องแล้วผู้ป่วยก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเช่นเดียวกับผู้อื่นในสังคม


 

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก 
1. 
http://www.ramamental.com/medicalstudent/generalpsyc/panic-disorder/
2. https://vimeo.com/104367024
3.
https://www.youtube.com/watch?v=bycx9bAZwM0


        



Page : [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44]